06 ธันวาคม 2564

“เกาหลีใต้” ยุทธศาสตร์การทูตแห่งศตวรรษที่ 21

นึกถึงเกาหลีใต้ทุกคนจะนึกถึงอะไรคะ ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือชื่อดัง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ดร้อน หรือ อาหารเกาหลีที่โด่งดังไปทั่วโลก สถานที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ น่าไปเที่ยว วิวภูเขาหิมะที่อลังการ แหล่งช้อปปิ้งที่น่าไปตะลุยช้อป


แต่เบื้องหลังความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ข้างต้นที่ทำให้ GDP ประเทศเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นภาพปลายทางที่ประสบความสำเร็จของรัฐบาลเกาหลีใต้ ผ่านนโยบายที่ชื่อว่า “ฮัน-รยู” หรือ “Hallyu” ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1990 



รัฐบาลเกาหลีใต้ทุ่มงบไม่อั้นผ่านวัฒนธรรมเกาหลีใต้ อย่างแรกๆ ที่คนไทยเริ่มเห็นได้ชัดคือ สมัยซีรีย์ Full House สะดุดรักที่พักใจ (ใครทันนี่ดักแก่เลย ฮา) ประสบความสำเร็จจนเกิดกระแส เรนฟีเวอร์ มาจนถึง นักร้อง Big Bang ,Wonder Girls ,Super Junior นักร้องเกาหลีรุ่นแรกๆ ที่ดังในไทยและดังไปทั่วโลก 



นักร้องนักแสดงเหล่านี้ไม่ได้มาฝากผลงานธรรมดาๆ ถ้าใครติดตามจะเห็นได้ชัดผ่านสื่อเลยว่ารัฐบาลพยายามแทรกซึมวัฒนธรรมประจำชาติอย่าง อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้คนต่างชาติชื่นชอบและอยากไปเยี่ยมเยียนเกาหลี สร้างรายได้ให้คนในประเทศได้อีกหลายเท่า 



เมื่อไม่นานมานี้ ทาร่ามีโอกาสเข้าฟังงานเสวนาเรื่อง “วิธีการสอนภาษาไทยในบริบทของการสอนภาษาไทย ให้ชาวต่างชาติ” ที่จัดโดย คณะอักษรศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์ฯ อยากแชร์ข้อมูลให้ผู้อ่านได้เห็นภาพยุทธศาสตร์นี่กัน




ว่ากันว่า นโยบาย “ฮัน-รยู” มันเป็นส่วนหนึ่งแผนยุทธศาสตร์การทูตของเค้าเลยค่ะ การที่รัฐบาลเกาหลีใต้พยายามปลุกปั้น ดาราเกาหลี นักร้อง และตั้งใจส่งออกภาพยนตร์เกาหลี ซีรีย์เกาหลี ให้ดังระดับโลกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การทูต



อ่านไม่ผิดเลยค่ะ



จากเดิมที่เราเคยคิดว่าเรื่องของการทูตเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล และจะต้องมีการแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกันในทุกๆ ข้อตกลง เช่น ถ้าไทยจะขอยกเว้นภาษีในการส่งออกข้าว อ้อย ข้าวโพด ทุเรียน ผลไม้ใดๆ ไปที่อเมริกา เค้าก็อาจจะขอแลกกับการที่เรางดเว้นภาษีนำเข้าสำหรับยา อาวุธ หรือสินค้าเทคโนโลยี อะไร ยังไงก็ตาม แต่มันคือการที่สองฝ่ายตกลงกันและแลกเปลี่ยนกันในระดับประเทศทั้งสิ้น


แต่รัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้กลับไม่คิดอย่างนั้นค่ะ เค้ากลับคิดว่า เค้าอยากที่จะขายอะไรก็ได้ที่อยากจะขาย โดยที่ไม่ต้องรอให้รัฐบาลกับรัฐบาลมาเจรจากัน 


ทั้งรามยอน ชานมไข่มุก ขนม เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม การท่องเที่ยว มือถือ กล้องถ่ายรูป เครื่องซักผ้า เครื่องออกกำลังกาย รถยนต์ ยันแฟรนไชน์ปิงซู เรียกว่าอยากขายอะไรก็ขายได้เลยจร้าาาา ขายมันผ่านซีรีย์เกาหลีนี่แหละ




โดยการฝากภารกิจการทูตไว้กับ ท่านทูตหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน ทั้งท่าน ลีมินโฮ กงยู ซอคังจุน ฮยอนบิน โดยการส่งท่านทูตเหล่านี้มาเจริญไมตรีกับผู้บริโภคในประเทศเป้าหมายก่อน 


แค่มาเปิดคอนเสิร์ตในไทยแล้วพูดว่า “สาวไทยน่ารัก” แค่นี้พวกเราก็ใจละลายพร้อมจะซื้อทุกอย่างที่ท่านทูตหน้าหล่อเป็นพรีเซ็นเตอร์แล้วล่ะค่ะ


คือ เริ่ดดดดดมากแม่ ทุกวันนี้เราจะเห็นเทรนด์ว่าสินค้าอิมพอร์ตจากเกาหลีใต้คือปังมาก ก็เป็นผลมาจากยุทธศาสตร์ “ฮัน-รยู” นั่นเอง



แล้วถ้าวันนึง ท่านทูต กงยู เลิกฮอตล่ะ 



ก็แค่ส่ง ท่านทูต ลีมินโฮ มาแทน หรือจะส่ง BTS มาแทนก็ได้ 



เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากความดังของดารา/นักร้องเพื่อให้สื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรงนั่นเองค่ะ



ทาร่าได้ยินเรื่องนี้แล้วก็รู้สึก “เปิดโลกไปอี๊กกกก” ว่าต่างประเทศเค้าก็คิดได้เนอะ เรียกได้ว่า คิดได้ลึกซึ้ง ซับซ้อน ฉีกตำราการทูตทิ้งไปเลย เปิดโลกทัศน์ ให้ได้เห็น “โลกอีกมุมนึง” เลยค่ะ


ขอฝากผลงานอีกอย่างของทาร่าไว้ด้วยนะคะ ใครอยากตั้งเป้าหมายแบบจับต้องได้ และทำได้จริง เล่มนี้ดีคือเหมาะมากๆ เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่และสายเสกระดับโปรด้วยค่ะ

❤️🧡💛💚💙


สนับสนุนทาร่าได้ที่


📙📙📙


หนังสือ "Power of Vision Board เปลี่ยนชีวิตให้เป๊ะปังด้วยพลังจากรูปภาพ" โดย Tara Thow

แบบเล่มที่ Se-ed https://bit.ly/3mJ7fNl
E-book ที่ Meb: https://bit.ly/3Bljwh0
E-book ที่ Ookbee: https://bit.ly/3Bn43Nj

ติดตามทาร่าได้ที่:

Youtube: tarathow



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น