31 พฤษภาคม 2565

จัดเวลาตามแบบนักวิทยาศาสตร์สมอง

สิ่งที่ทุกคนบนโลกนี้มีเท่ากัน และใช้ไม่เหมือนกันมาตลอด คือ เวลา ใช่แล้ว ติ๊กต๊อก ติ๊กต๊อก เดินไปตลอดไม่มีหยุดหมุน และไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เจ้าเวลานั่นเอง ตอนสมัยเรียนทำไมไม่มีใครสอน หลักสูตรบริหารเวลาบ้าง ถ้ามีคุณครูสอนเราอาจใช้เวลามีคุณค่ามากกว่าที่เราใช้ทุกวันนี้ก็ได้ (แต่ไม่เป็นไรนะคะ ต่อให้คุณครูไม่สอน แต่ถ้าใครติดตาม ทาร่า รับรองว่าคุณคุ้มค่า คุ้มเวลาแน่ๆ เรียนเชิญแอ๊ดไลน์ @tarathow ไว้เลยนะคะ 😄)


กลับมาเรื่องการบริหารเวลาค่ะ ใครที่เป็นสายพัฒนาตัวเอง คุณน่าจะผ่านตามาแล้วหลายสูตร ทั้งการจัดเวลาสไตล์นักธุรกิจ สไตล์เซนแบบญี่ปุ่น หรือจัดเวลาแบบ Highly Effective People (แบบคนมีประสิทธิภาพมากมาย) อะไรก็ว่าไป 


Credit:Pixabay 

วันนี้ทาร่ามีอีก 1 สูตรมานำเสนอค่ะ สูตรนี้ทาร่าได้ยินมาจาก Podcast ของ Dr. Andrew Huberman เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมองที่นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แบบยาก ๆ มาย่อยให้คนปกติแบบพวกเราสามารถเข้าใจได้ ดีงามมาก ๆ ค่ะ


และมีเรื่องนึงที่ทาร่านำมาปรับใช้แล้วรู้สึกว่า เอ้ยยย ดีงาม ดาวล้านดวง จนอยากเอามาแชร์ต่อ แต่ก็จะเล่าได้ไม่ละเอียดเท่ากับ Dr. Andrew นะคะ แต่เอาเป็นว่า… แสงเหมือนกัน แต่ถ้าต่างเวลากันมันก็จะมีค่า X ค่า Y ไม่เท่ากัน แดดตอนเช้าก็ไม่เหมือนแดดตอนเที่ยง แดดตอนเที่ยงก็ไม่เหมือนแดดตอนเย็น ไหนจะมีทั้งแสงสีแดง สีขาว สีฟ้าใดๆ ล้วนแล้วแต่ส่งผลที่ต่างกันกับคลื่นสมองของมนุษย์เรา


เท่านั้นยังไม่พอค่ะ เจ้าคลื่นสมองเราเองก็ทำงานไม่เหมือนกันทั้งวันอีก เอาแค่เวลานอนที่เราคิดว่าเหมือน ๆ กัน แต่ถ้าใครใส่ fitbit หรือ apple watch ก็จะเห็นว่ามันไม่เหมือนกัน เรามีช่วงหลับลึก หลับตื้น และมันเป็นรอบๆ ของมันทุกชั่วโมง ทุกหลายชั่วโมง และทุกวันอีก คือมันซับซ้อนถึงขนาดที่ว่า.. ตอนที่เราหลับ แต่สมองเราก็ยังตื่นอยู่ไปโน่นนน


Credit:ngsp



และเมื่อเราเอาองค์ประกอบทางวิทยาศาสตร์ทุกอย่างมารวมเข้าด้วยกัน ตั้งแต่คลื่นสมอง สารเคมีในสมอง ฮอร์โมนต่างๆ ปริมาณแสงแดดในธรรมชาติ แสงแดดในห้องเราแสงฟ้า แสงไม่ฟ้า แสงจอมือถือ

แสงไฟต่าง ๆ แล้ว นี่คือวิธีจัดตารางชีวิตของ Dr. Andrew ค่ะ


หมายเหตุ: Dr.Andrew เค้าบอกว่าสูตรนี้อาจไม่เหมาะกับทุกคน แต่นี่เป็นสูตรที่เค้าใช้อยู่ และเค้าก็อยากแชร์ในฐานะนักวิทยาศาสตร์สมอง 


ตอนเช้า: ทำงานที่ต้องใช้ตรรกะ ความคิด ใช้การตัดสินใจ ต้องมีเหตุผล

ตอนเย็น: ทำงานที่ต้องใช้จินตนาการ ใช้อารมณ์ศิลป์ ต้องมโน ต้องวาดภาพ สร้างฝัน


ส่วนงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ทั้งสมองและจินตนาการ เช่น ตอบอีเมล์ ส่งของ ทำกับข้าว ซักผ้า ล้างจาน กรอกเอกสาร ซื้อของเข้าบ้าน จองวัคซีน แบบนี้ให้เก็บไว้ทำตอนกลางวันค่ะ เพราะช่วงกลางวันเป็นช่วงที่เรามีสมาธิน้อยที่สุดแล้ว ถ้าบางคนจะง่วง จะเบื่อ หรือจะต้องนอนกลางวันด้วยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะร่างกายของเรามันถูกออกแบบมาให้เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว


และนี่ก็เป็นวิธีการจัดเวลาตามสไตล์นักวิทยาศาสตร์สมอง Dr.Andrew Huberman ที่ทาร่าชอบมากๆ


ใครลองนำไปใช้แล้ว ได้ผลยังไงแวะมาเมาท์มอยกันได้น้า 😘




💗💗💗💗💗


เกี่ยวกับเรา


Tara Thow อ่านว่า ทาร่า โถว เป็นมนุษย์แม่ลูกสองอยู่ที่ซิดนีย์ สนใจศาสตร์พัฒนาตัวเอง ปรัชญา ธุรกิจ ครอบครัว รักเสียงเพลง ไวน์แดง และนิยาย



#คอร์สธุรกิจออนไลน์เริ่มง่ายไม่ต้องใช้เงินทุน


#หนังสือเปลี่ยนชีวิตให้เป๊ะปังด้วยพลังจากรูปภาพ


#สอนภาษาไทยให้เด็กๆที่เกิดต่างประเทศ


#อบรมครูสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ


💞 💞💞💞💞


ช่องทางในการติดตามเราจ้าา.. 😘


Facebook: https://www.facebook.com/pagetarathow


IG: tarathow


Youtube: https://www.youtube.com/c/TaraThow


Blockdit 1: มนุษย์แม่ลูกสองจากเมืองซิดนีย์ By Tara Thow


Blockdit 2: จุด by Tara Thow


Blogspot: tarathow.blogspot.com


Tiktok: @tarathow


Line: @tarathow



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น