Subscription Business Model เป็นเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงมากๆ ในศตวรรษที่ 21 มันคือการขายสินค้า หรือ บริการแบบระบบสมาชิกนั่นเอง โดยระยะเวลาจะมีทั้งรายเดือน รายปี นักวิเคราะห์บอกว่าเทรนด์ธุรกิจแบบนี้จะทำให้ธุรกิจคุณมีฐานลูกค้าที่พร้อมจ่ายเงินในระยะยาวอยู่ตลอดเวลา ฝากฝั่งของธุรกิจคุณสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้เลยว่าไตรมาสหน้า ยอดขายจะเท่าไหร่
“โมเดลธุรกิจนี้เป็นยังไง เจ๋ง แค่ไหน จะเป็นทางรอดให้คนทำธุรกิจรึเปล่ามาลองดูกันค่ะ”
ทาร่ายกตัวอย่างของธุรกิจ Subscription Business Model ระดับโลกที่เราคุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่เป็นฟากฝั่งของการให้บริการดิจิทัล
Netflix
Youtube
Gmail
Canvas
Dropbox
Adobe
Audible
Amazon
ใดๆ ล้วนๆ สับตะไคร้ เอ้ย ซับสคริปชั่น
“ส่วนใหญ่เค้าจะคิดเราเป็นรายเดือนเนอะ พอหารกันแล้วเดือนละไม่กี่ร้อยบาทมันก็ไม่แพง ผู้บริโภคพร้อมจ่าย”
“ถ้าสั่งเป็นครั้งๆ แค่ 2 ครั้งก็ $20 แล้ว แต่ถ้าเราสับตะไคร้กับเค้าเดือนละ $19 ก็จะสั่งกี่ครั้งก็ได้ สำหรับคนส่วนใหญ่จะซื้อของเข้าบ้านอาทิตย์ละครั้ง เดือนนึงก็ 4 ครั้งแล้ว คุ้มกว่าเห็นๆ“
ไม่ใช่แค่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้น แม้แต่บริษัท “ไวน์” ที่นี่มีระบบซับสคริปชั่นเหมือนกัน มีหลายเจ้าด้วยค่ะ คือถึงเวลาก็ส่งให้เลยเดือนละ 1 โหล รับรองว่าบ้านเราจะไม่มีวันขาดไวน์แน่นอน แต่ก่อนที่จะส่งให้นั้นเค้าจะมีการทำแบบสอบถามก่อนว่า เราชอบไวน์แบบไหน ไม่ชอบแบบไหน ปกติที่บ้านทานอาหารประเภทไหน เน้นทานเนื้อสัตว์ เนื้อหมู ปลา ผัก ต่างๆ เพื่อเป็นการประเมินว่าเราเหมาะกับไวน์แบบไหน
ข้อมูลน่าสนใจที่ทาร่าอยากแชร์ต่อ อ้างอิงจากหนังสือ Subscribed: Why the Subscription Model Will Be Your Company's Future - and What to Do About It เขียนโดย Tzuo, Tien
ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจกำจัดแมลงสาบ ที่ออสเตรเลียถ้าเราเจอแมลงสาบตัวแรกโผล่ออกมา (ส่วนมากมันจะโผล่มาในช่วงฤดูร้อน) เราจะโทรไปเรียกให้บริษัทพวกนี้มาฉีดเพื่อกำจัดให้ ค่าเสียหายครั้งละ 200 เหรียญ หลังจากที่ฉีดแล้ว เราจะสามารถสบายใจไปได้ประมาณ 1 - 1.5 ปี หรือถ้าโชคดีก็ 2 ปี จนกระทั่งเราเจอแมลงสาบโผล่มาอีกครั้ง เราถึงจะโทรไปเรียกเค้ามาอีก 200 เหรียญ
(อันนี้ทาร่าคิดเอาเองนะ) ซึ่งถ้าบริษัทแนวนี้อยากจะเปลี่ยนมาใช้ subscription model ก็แค่เปลี่ยนจากลูกค้าขาจรที่ 1 บ้านอาจจะโผล่มาทุก 1 หรือ 2 ปีให้มาเป็นสมาชิก “บ้านไร้แมลงสาบ” อาจจะคิดค่าสมาชิกซักเดือนละ 15 เหรียญ แลกกับการดูแลปัญหาแมลงสาบให้บ้านหลังนี้ไปเลย ตราบใดที่เค้ายังจ่ายค่าบริการรายเดือนให้อยู่ ถ้าทำแบบนี้ตัวบริษัทเองก็จะได้รู้แน่นอนว่าตอนนี้มีบ้านอยู่ในความดูแลกี่หลัง ใครสมัครใหม่ ใครยกเลิก แล้วบริษัจจะมีรายได้แน่นอนเดือนละเท่าไหร่
ในทางกลับกันทางลูกค้าก็จะสบายใจได้ว่าเราจ่ายไปเดือนละ 15 เหรียญ เราจะสามารถเรียกเค้ามาเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องบิลใหญ่ และที่สำคัญเราสามารถคาดหวังได้ว่าทางบริษัทจะฉีดยา เคลือบยาให้อย่างดี และพยายามจะทำให้มันอยู่ได้ 2 ปี แทนที่จะต้องมาฉีดทุก 1 ปี วิน-วิน เห็นๆ
(อันนี้ทาร่าคิดเองนะคะ) ถ้า BMW ที่ออสเตรเลียจะเปลี่ยนมาใช้ Subscription Model ก็แค่เปลี่ยนจากผ่อนเดือนละ $1,700 เป็นเวลา 4 ปี มาเป็นซับสไครบ์เดือนละ $1,700 เท่าเดิม ให้รถคันเดิม แถมซ่อมฟรี ดูแลฟรี ให้ด้วยเลย ถ้ารถเสียก็จะหาคันใหม่มาให้ขับแทน เรียกว่าประสบการณ์ BMW ของลูกค้าจะเหมือนเดิมทุกอย่าง สิ่งที่ต่างออกไปคือลูกค้าไม่ต้องผ่อนให้ครบ 4 ปีเพื่อที่จะเป็นเจ้าของรถเพียง 1 คัน แต่จะสามารถใช้รถ BMW ไปได้เรื่อยๆ ตราบที่ยังจ่ายค่าบริการรายเดือนให้ศูนย์อยู่ และหากไม่ชอบคันนี้ก็อาจจะ upgrade หรือ downgrade plan เพื่อให้ได้รถที่ใหม่ขึ้น หรือใช้รุ่นเก่าลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของลูกค้าในตอนนั้นๆ
อีกตัวอย่างนึงที่ในหนังสือได้พูดถึง คือ บริษัท Gillette ซึ่งเป็นผู้ผลิตใบมีดโกนหนวดสำหรับท่านชาย ที่เป็นเจ้าแรกๆ เลยที่นำ Subscription Model มาใช้ คือเค้าให้คุณผู้ชายสมัครสมาชิกไว้เลยในราคาถูกๆ และทางบริษัทจะจัดส่งชุดใบมีดโกนให้ตามแพ็คเก็จที่เลือกไว้ แถมยังยืดหยุ่นตรงที่เราสามารถกำหนดได้เองว่าอยากให้เค้าส่งสินค้า ในช่วงเดือนไหน ตั้งแต่ทุก 1-6 เดือน และถ้ามีการสั่งซื้อครบ 3 ครั้ง จะได้รับสิทธิ์สั่งซื้อครั้งต่อไปฟรี แต่บริการนี้ยังใช้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ขอฝากผลงานอีกอย่างของทาร่าไว้ด้วยนะคะ ใครอยากตั้งเป้าหมายแบบจับต้องได้ และทำได้จริง เล่มนี้ดีคือเหมาะมากๆ เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่และสายเสกระดับโปรด้วยค่ะ
สนับสนุนทาร่าได้ที่
📙📙📙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น